พบการระบาดโรคกาโนเดอร์มาในประเทศไทย ที่จังหวัดกระบี่และสุราษฎร์ธานี
พบการระบาดโรคกาโนเดอร์มาในประเทศไทย ที่จังหวัดกระบี่และสุราษฎร์ธานี บทความนี้ มาทำความรู้จักกับโรคกาโนเดอร์มา หรือ โรคโคนเน่า (ganoderma) ในปาล์มน้ำมัน
โรคปาล์มน้ำมันในบ้านเราไม่ค่อยมีรายงานการระบาดและทำความเสียหายที่ร้ายแรง โรคที่สำคัญ ได้แก่ โรคยอดเน่าระบาดในอเมริกาใต้โดยเฉพาะประเทศคอสตาริกา โรควาสคิวลาร์วิลท์ในอาฟริกาซึ่งเกิดกับการทำลายท่อน้ำอาหาร และโรคกาโนเดอร์มาซึ่งเกิดจากเชื้อเห็ดราที่ระบาดและทำความเสียหายให้ประเทศมาเลเซียและอินโดเนเซียเป็นอย่างมาก
จากภาพ เป็นการระบาดในประเทศอินโดเนเชียที่ทำลายต้นปาล์มจนเกิดเป็นพื้นที่ว่างมากว่ากึ่งหนึ่ง โรคจะทำลายได้ทุกระยะของการเจริญเติบโตและค่อยๆ แสดงอาการไม่สมบูรณ์ ลำต้นเรียว ใบสั้นลง ผลผลิตลดลงอย่างชัดเจน ใบค่อยๆเหี่ยวเฉาและหักพับ ต้นปาล์มยืนต้นหรือหักพับตายในที่สุด
เชื้อราเข้าทำลายเนื้อเยื่อภายในลำต้น และเน่าเป็นโพรง บางครั้งเราไม่สามารถเห็นจากภายนอกได้ ถ้าสังเกตุที่โคนต้นจะพบเห็ดลักษณะสีน้ำตาลหรือ น้ำตาลแดง หรือน้ำตาลคล้ำ มีขอบขาวและดอกแข็ง เราจะเห็นดอกเห็ดจากเชื้อราเมื่อถึงระยะสุดท้ายที่ต้นปาล์มแสดงอาการใกล้ตาย เป็นเห็ดตระกูลเดียวกับเห็ดหลินจือและที่ขึ้นอยู่กับโคนตอไม้ต่างๆ แต่มักเป็นคนละสายพันธุ์ โรคนี้มีการระบาดและแพร่เชื้อจากต้นหนึ่งไปยังต้นหนึ่ง ค่อยๆตายไปโดยเรามักไม่ทราบสาเหตุ
จากภาพ เป็นการระบาดในพื้นที่ ตำบลเขาพนม ตำบลเหนือคลอง ตำบลกระบี่น้อย จังหวัดกระบี่ และ อำเภอเคียนซา จังหวัดสุราษฏร์ธานี
ปัจจุบัน ยังไม่มีวิธีการหรือการการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรคได้อย่างได้ผลเพียงพอ การวิจัยใช้วิธีการทางชีวภาพ เช่น การใช้เชื้อต้านทานก็ยังได้ผลไม่ดีพอ การป้องกันการรุกลามของการระบาดในเบื้องต้น คือ การขุดตอและเผาทำลายทุกส่วนของต้นปาล์มตลอดจนหลีกเลี่ยงการปลูกชิดลำต้นเดิมครั้งต่อไป อย่างไรก็ตาม สามารถป้องกันได้บางส่วนเท่านั้น
นับเป็นที่น่ายินดีว่า ได้มีสายพันธุ์ที่ต้านทานเชื้อกาโนเดอร์มา ซึ่งเป็นสายพันธุ์เดียวในขณะนี้ โดยได้จดทะเบียนกับรัฐบาลอินโดเนเชีย คือ สายพันธุ์
"กาโน" ที่ทำการวิจัยโดยเครือข่ายของ
ซีหราด โดยวิธีการคัดเลือกจากสายพันธุ์ที่ต้นเตี้ย ทนแล้งอยู่แล้ว มาปลูกร่วมกับการเพาะเชื้อโรคลงไปในถุงเพาะเดียวกันตลอดจนนำมาทดสอบปลูกในแปลงขนาดใหญ่ พบว่าสายพันธุ์ที่ไม่ต้านทานโรคตายในขณะที่อยู่ในแปลงเพาะกล้า และแปลงทดสอบ
พันธุ์ต้านทานโรคกาโนเดอร์มาสายพันธุ์แรกของโลก
"กาโน" ได้มีการผลิตจากแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ที่จังหวัดกระบี่แล้ว ตั้งแต่กลางปีนี้ 2558 โดยบริษัทสยามเอลิทปาล์ท จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนของ บริษัทสหอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม จำกัด (มหาชน) และปาล์มเอลิท ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเกษตรกรมีโอกาสนำไปปลูกเพื่อเป็นการป้องกันการระบาดของโรคโดยเฉพาะในพื้นที่เสี่ยง
ตีพิมพ์ในวารสารพืชพลังงาน ฉบับที่ 8/87/58
สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร 0819790908 และ 0818945382 หรือ อีเมล
sarut.c@upoic.com